ASCS : PLC

ความหมายของ PLC

PlC หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมทาและร่วมเรียนรู้ร่วมกัน บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตรสู่คุณภาพการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนและความสุขของการทำงานร่วมกันเป็นสำคัญ

วัตถุประสงค์ของ PLC

1. เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้เกิดการร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพผู้เรียน
3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน

การดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

1. การรวมกลุ่มของสมาชิก

  • คณะครูกลุ่มที่ศึกษาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จำนวน 37 คน

2. วิเคราะห์และระบุปัญหา/สิ่งที่ต้องการพัฒนา

ค้นหาปัญหา

  • นักเรียนที่เป็นคนรุ่นใหม่เบื่อหน่ายและไม่ค่อยสนใจในวิธีการเรียนการ สอนแบบเดิม ๆ ความตั้งใจลดน้อยลง
  • นักเรียนสนใจบทเรียนจากสื่อเทคโนโลยีมากกว่าการฟังครูบรรยาย

สาเหตุและแนวทางแก้ไข

  • วิธีการจัดการเรียนการสอนของครูอาจจะไม่ค่อยน่าสนใจ
  • นักเรียนระดับประถมศึกษามีเวลาที่จะสนใจในบทเรียนได้ไม่นาน
  • ควรปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เป็นแบบ Active Learning มากยิ่งขึ้น ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • ควรนำเทคโนโลยีด้านการศึกษาเข้ามาช่วยให้มากยิ่งขึ้น
  • ควรสร้างสื่อการเรียนรู้ที่เป็นแบบดิจิทัล มีความทันสมัย สวยงาม ใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างสะดวก ทุกที่ทุกเวลา

3. ออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม/นวัตกรรม

  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เป็น Active Learning และมีการนำเทคโนโลยีด้านการศึกษาเข้ามาช่วย เพื่อให้กิจกรรมมีความหลากหลายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
  • ใช้ Application ประเภทต่าง ๆ มาช่วยในการเรียนการสอน เช่น Application ประเภทแหล่งความรู้ ประเภทดนตรี ประเภทเครื่องมือ สำหรับผลิตชิ้นงานและนวัตกรรม ฯลฯ
  • สร้างหนังสือแบบเรียนดิจิทัล iBook ซึ่งเป็นหนังสือที่รวมสื่อหลากหลายรูปแบบ เช่น เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ เกมการศึกษา Clip VDO แบบประเมิน สามารถทำ Highlight หรือ Note ได้ และเป็นการประหยัดการ ใช้กระดาษด้วย
  • สร้างแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษา เนื้อหาวิชาให้ลึกและกว้างมากยิ่งขึ้น โดยครูรวบรวมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ด้านวิชาการไว้ใน Blogger ของตน และเผยแพร่ให้นักเรียนได้นำไปใช้
  • สร้าง ASCS Education Digital Platform ขึ้นมา เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาบทเรียนวิชาการทางออนไลน์ โดยจัดสร้างผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียน นักเรียนสามารถเข้าเรียน โดยมีครูเจ้าของวิชาจัดทำแผนการเรียน สร้างสื่อ แบบเรียน แบบฝึกหัดและดำเนินการสอนตรงตามหลักสูตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

4. วิพากษ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงแก้ไข

  • การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เป็นแบบ ActiveLearning ควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง จัดกระบวนการกลุ่ม มีรูปแบบการจัดการและแบ่งการทำงานที่ชัดเจน ทั้งยังได้ฝึกทักษะในเรื่องของความร่วมมือ การติดต่อสื่อสาร การคิดวิเคราะห์และการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งจะได้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเรื่องของการเสียสละ การอุทิศตน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฯลฯ
  • การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ครูทุกท่านมีความรู้ความสามารถในเรื่องนี้ ประกอบกับโรงเรียนมีความพร้อมในเรื่องของ Infrastructure ด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว
  • การสร้างแบบเรียนดิจิทัล iBook โรงเรียนได้ดำเนินการมาบ้างแล้ว และ สามารถนำไปให้นักเรียนได้ใช้ในทันทีในหลายวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ฯลฯ
  • การสร้างแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ คุณครูหลายท่านมีแหล่งเรียนรู้พร้อมอยู่แล้ว สามารถนำมาเผยแพร่ได้ทันที การหาความรู้เพิ่มเติมปัจจุบันทำได้สะดวกผ่านทาง Internet และนักเรียนมีความพร้อมทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านที่จะเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เหล่านั้น

5. จัดการเรียนรู้ / กิจกรรม /นวัตกรรม

  • การจัดการเรียนรู้ของคุณครูได้ปรับเปลี่ยนให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น มีการนำเทคโนโลยีด้านการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
  • นักเรียนมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีค้นคว้าหาความรู้ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำเสนอได้อย่างรวดเร็วผ่าน Application ที่หลากหลาย เช่น Keynote, Pages, Green Screen, Book Creator ฯลฯ
  • นักเรียนเริ่มสร้างนวัตกรรมของตนเอง โดยเฉพาะในวิชาวิทยาศาสตร์ที่คุณครูใช้วิธีการของ Active Learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • นักเรียนได้ศึกษาโดยใช้หนังสือแบบเรียนดิจิทัลที่คุณครูได้สร้างขึ้น

6. ประเมินผล

  • นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนมากขึ้น มีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น เห็นเด่นชัดในหลายวิชา เช่น English Lab., วิชาดนตรี iMusic, วิชา วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
  • นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางที่ขึ้น สังเกตได้จากพฤติกรรมของนักเรียน บรรยากาศของห้องเรียนที่เปลี่ยนแปลงไป นักเรียนมีความสุขและสนุกกับการเรียน และสามารถผลิตผลงานได้อย่างสร้างสรรค์
  • นักเรียนสนุกกับการอ่านหนังสือแบบเรียนดิจิทัล เนื่องจากมีสีสรรสวยงาม เนื้อหาน่าสนใจและทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองได้

7. สรุปเผยแพร่

  • นักเรียนจัดทำผลงานอย่างหลากหลายในรูปแบบของดิจิทัล เป็นเนื้อหาทางวิชาการหรือทำเป็น Clip Video โดยใช้ Application Keynote, iMovie ฯลฯ และนำไปเผยแพร่ทาง Social Network ได้